ประวัติโรงเรียน
|
 |
ประวัติโรงเรียนไพศาลีพิทยา
โรงเรียนไพศาลีพิทยา ตั้งอยู้เลขที่ 123 หมู่ที่ 8 ตำบลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 82 ไร่ 2 งาน16 ตารางวา
ตั้งขึ้นด้วยแรงปรารถนาของชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี นายถมยา โตแก้ว อดีตกำนันตำบลโคกเดื่อ เป็นแกนนำก่อตั้ง โดยเปิดเป็น สาขาโรงเรียนของโรงเรียนนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2514 มีนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 44 คน นายไพบูลย์ นิลพิบูลย์ ครูโทโรงเรียนนครสวรรค์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และในเวลานั้น โรงเรียนบ้านโคกเดื่อ (โคกเดื่อประชาสรรค์) ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตอำเภอไพศาลี ได้ส่งครูมาช่วยสอนอีก 2 ท่าน คือ นายเพียร จรบุรี และ นายวิเชียร เกษประทุม
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนไพศาลีพิทยา เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2515 โดยแต่งตั้ง นายไพบูลย์ นิลพิบูลย์ เป็นครูใหญ่คนแรก ในปีนั้นมีนักเรียนจำนวน 216 คน มีห้องเรียนจำนวน 4 ห้อง บ้านพักครู 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง และห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง
-
ปีงบประมาณ 2516 : ก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง และส้วมนักเรียน 1 หลัง
-
ปีงบประมาณ 2517 : ก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง และส้วมนักเรียน 1 หลัง
-
ปีงบประมาณ 2518 : ก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง อาคารชั่วคราว 1 หลัง
-
ปีงบประมาณ 2519 : ก่อสร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง บ้านพักครู 1 หลังและส้วมนักเรียน 1 หลัง
-
ปีการศึกษา 2520 : เข้าร่วมโครงการ คมช. รุ่นที่ 13 และกรมสามัญศึกษากำหนดตำแหน่งผู้บริหารเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
-
ปีการศึกษา 2521 : ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง
-
ปีการศึกษา 2523 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการมัธยมศึกษาเพื่อชนบท (มพช.) เป็นรุ่นแรก ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารโลกและงบประมาณประจำปีเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง อาคารเอนกประสงค์ (หอประชุม) 1 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลัง บ้านพักครู 4 หลัง (8 หน่วย) ส้วมนักเรียน 1 หลัง และหรับปรุงระบบไฟฟ้า น้ำ ถนน เป็นเงินทั้งสิ้น 9,678,000 บาท
-
ปีการศึกษา 2524 : ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา และนายไพบูลย์ นิลพิบูลย์ ได้รับรางวัล ผู้บริหารดีเด่นระดับประเทศด้านพัฒนาชนบท
-
ปีการศึกษา 2526 : นายไพบูลย์ นิลพิบูลย์ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ จังหวัดนครสวรรค์ และ ว่าที่ร้อยตรีไพศาล ประทุมชาติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ มาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร
-
ปีการศึกษา 2528 : เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน ชั้น ม.4 รุ่นแรกจำนวน 90 คน
-
ปีการศึกษา 2530 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นของภาคเหนือ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.)
-
ปีการศึกษา 2531 : เปิดหน่วยเรียนตะคร้อ ณ โรงเรียนบ้านตะคร้อ รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน โรงเรียนขนาดกลางของกรมสามัญศึกษา
-
ปีการศึกษา 2532 : กรมสามัญศึกษาอนุมัติตั้งหน่วยเรียนตะคร้อเป็นสาขาของโรงเรียนไพศาลีพิทยา กรมสามัญศึกษา แต่งตั้งว่าที่ร้อยตรีไพศาล ประทุมชาติ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพยุหะพิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ และแต่งตั้ง นายประกฤต เอี่ยมสกุล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
-
ปีการศึกษา 2533 : กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งสาขาโรงเรียนไพศาลีพิทยา(หน่วยเรียนตะคร้อ) เป็นโรงเรียนตะคร้อพิทยา 14 ธันวาคม 2543 นายประกฤต เอี่ยมสกุลได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2535 : กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายประกฤต เอี่ยมสกุล ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโคกกระเทียมวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี และแต่งตั้งให้นายอานนท์ อภิญญานุวัฒน์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาก "ประชาวิทยาคาร" จังหวัดตาก มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2536 : ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 216 ล.(ปรับปรุง 29) 1 หลัง
-
ปีการศึกษา 2537 : กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้หน่วยการเรียนวังข่อยเป็นสาขาของโรงเรียนไพศาลีพิทยา เปิดสอนนักเรียน ชั้น ม.1 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 44 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ (หอประชุม) แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
-
ปีการศึกษา 2539 : กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายอานนท์ อภิญญานุวัฒน์ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนลาดยาววิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ และให้นายชูชาติ ชัยบุรินทร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฎ์ จังหวัดราชบุรี มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2540 : กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้นายชูชาติ ชัยบุรินทร์ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี และแต่งตั้งให้นายจตุรงค์ เกิดปั้น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนคชสิทธิ์วิทยาคม จังหวัดสระบุรี มารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยาคม
-
ปีการศึกษา 2542 : สร้างห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ณ อาคารรำไพพฤกษา
-
ปีการศึกษา 2544 : สร้างห้อง 30 ปี ไพศาลีพิทยา (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์) จำนวน 2 ห้องเรียน กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้ นายจตุรงค์ เกิดปั้น ไปรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุธีวิทยา จังหวัดสระบุรี และแต่งตั้งให้นายธวัชชัย ทองเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระบางวิทยา จังหวัดนครสวรรค์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2545 : นายธวัชชัย ทองเจริญ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2546 : ผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยาได้จัดการก่อสร้างลานธรรมะให้แก่นักเรียน
-
ปีการศึกษา 2547 : นายสมชาย ตาฬุมาศสวัสดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งขึ้นเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2549 : โรงเรียนไพศาลีพิทยาได้รับการประเมินเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน
-
ปีการศึกษา 2551 : โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา
-
ปีการศึกษา 2552 : นายอนันต์ หาญณรงค์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2555 : นายอนันต์ หาญณรงค์ เกษียณอายุราชการ
-
ปีการศึกษา 2555 : นายทรัพย์ ดวงชอุ่ม ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา
-
ปีการศึกษา 2562 : นายทรัพย์ ดวงชอุ่ม เกษียณอายุราชการ
-
ปีการศึกษา 2562 : นายทิพย์ แดงนิ่ม ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา ถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน : โรงเรียนไพศาลีพิทยา มีผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 3 คน มีครู-อาจารย์จำนวน 57 คน พนักงานราชการ 3 คน ครูอัตราจ้าง 7 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน
-
เปิดสอนในระดับชั้น ม.1 - ม.6 จำนวน 37 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 1,397 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564)
|